ผลลัพธ์ของ การมองอนาคต ของ การมองอนาคต

สิ่งสำคัญในการออกแบบกระบวนการการมองอนาคตคือการกำหนดจุดมุ่งหมาย ซึ่งเป็นตัวกำหนดลักษณะความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจจุดมุ่งหมายที่เป็นไปได้ 6 ข้อ มีดังนี้ :

  1. การกำหนดทิศทาง (Direction setting) - แนวทางกว้างๆ ของนโยบายวิทยาศาสตร์และการพัฒนาทางเลือกต่างๆ
  2. การจัดลำดับความสำคัญ (Determining priorities) - อาจถือเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดของการมองอนาคตและเป็นแรงผลักดันที่ประเทศที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่เผชิญ ในอันที่จะจัดการกับข้อจำกัดทางทรัพยากรและความเรียกร้องต่อนักวิจัยที่เพิ่มมากขึ้น
  3. ความสามารถในการคาดการณ์อนาคต (Anticipatory intelligence) - ระบุแนวทางใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นซึ่งจะมีบทบาทมากต่อการจัดทำนโยบายในอนาคต
  4. การสร้างความเป็นเอกฉันท์ (Consensus generation) - ส่งเสริมให้นักวิทยาศาสตร์องค์กรที่ให้ความ สนับสนุนทางการเงิน และผู้ใช้งานวิจัยมีความเห็นตรงกันมากขึ้นในการบ่งชี้ความต้องการหรือโอกาส
  5. การสนับสนุนการตัดสินใจ (Advocacy) - ส่งเสริมการตัดสินใจในเชิงนโยบายที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเฉพาะในระบบวิจัยและพัฒนา
  6. การสื่อสารและการศึกษา (Communication and education) - ส่งเสริมการสื่อสารภายในชุมชนวิทยาศาสตร์ การสื่อสารภายนอกกับผู้ใช้งานวิจัย และการให้การศึกษาแก่ประชาชนทั่วไปนักการเมืองและข้าราชการดังนั้น จึงมีกิจกรรมหลากหลายที่อาจรวบรวมได้คร่าวๆ ภายใต้เงื่อนไข การมองอนาคตบางกิจกรรมอาจค่อนข้างเก่า ในขณะที่บางกิจกรรมเป็นเรื่องใหม่ในคริสต์ทศวรรษที่ 1990 ได้มีการวิพากวิจารณ์วิธีการที่ใช้ในการมองอนาคตในขณะนั้นอย่างมาก และเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายว่าบริบททางเศรษฐกิจองค์กรและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศมีอิทธิพลต่อการเลือกใช้วิธีการมองอนาคตตัวอย่างเช่น ออสเตรเลียซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดเล็กถึงกลาง มีภาครัฐซึ่งมีบทบาทมากในวิทยาศาสตร์พื้นฐานแต่มีภาคเอกชนที่อ่อนแอในการวิจัยและพัฒนา และมีเศรษฐกิจที่เน้นสินค้าวัตถุดิบย่อมต้องพิจารณาเป้าหมายอนาคตที่แตกต่างจากประเทศเศรษฐกิจชั้นนำอย่างญี่ปุ่น ที่มีพื้นฐานอุตสาหกรรมที่เข้มแข็ง ทรัพยากรธรรมชาติจำกัด และเทคโนโลยีชั้นสูงที่พัฒนาแล้ว
แผนภาพ 1 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมองอนาคต

แผนภาพที่ 1 แสดงองค์ประกอบสำคัญของการมองอนาคตซึ่งในการศึกษาการมองอนาคตจำเป็นที่จะต้องรักษามุมมองที่สมดุลระหว่างปัจจัยที่เป็น “แรงผลักดันทางวิทยาศาสตร์” และ “แรงดึง-ทางอุปสงค์” ซึ่งต่างมีอิทธิพลต่อพัฒนาการในอนาคต

  • แรงผลักดัน-ทางวิทยาศาสตร์ (Science-push) คือกลุ่มนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ที่มีหน้าที่สร้าง เทคโนโลยีและโอกาสเชิงพาณิชย์ใหม่ๆ
  • ปัจจัยแรงดึงทางอุปสงค์มาจากชุมชนผู้ใช้ (Demand-pull) ตามความต้องการและการจัดอันดับ

ความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีอยู่และเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่

ปัญหาอาจเกิดขึ้นได้จากการสื่อสารระหว่างตัวแทนด้านแรงผลักดันทางวิทยาศาสตร์และแรงดึงทางอุปสงค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความไม่เข้าใจกันในเรื่องของระยะเวลาในการวิจัยและผลิตเทคโนโลยี การมองไปข้างหน้าร่วมกันผ่านการมองอนาคตนั้นสามารถเชื่อมช่องว่างดังกล่าวได้ด้วยลักษณะปฏิสัมพันธ์ของการมองอนาคตที่กล่าวถึงนี้เอง สิ่งที่ได้จากกระบวนการมองอนาคต จึงมักจะสำคัญเทียบเท่า (หรืออาจสำคัญกว่า!) ผลลัพธ์ของการศึกษา เราสามารถแจกแจงประโยชน์ ของกระบวนการ .มองอนาคต. ได้ 6 ข้อ ซึ่งในภาษาอังกฤษเรียกว่า 6 C's ดังนี้:

  • การสื่อสาร (communication) - เชื่อมโยงกลุ่มคนที่แตกต่างเข้าด้วยกัน โดยให้กรอบในการปฏิสัมพันธ์และสื่อสารแก่กลุ่มคนดังกล่าว
  • การเน้นระยะยาว (concentration) - ทำให้ผู้มีส่วนร่วมสามารถมองอนาคตได้ไกลกว่าที่เคยมอง
  • การประสานงาน (coordination) - ทำให้กลุ่มต่างๆ ร่วมกันเป็นหุ้นส่วนที่มีประสิทธิภาพในการวิจัยและพัฒนา
  • ความเป็นเอกฉันท์ (consensus) - สามารถวาดภาพทิศทางอนาคตที่เป็นทางเลือกแบบต่างๆได้ชัดเจนและจัดลำดับความสำคัญของการวิจัย
  • ความผูกพัน (commitment) – ทำให้ผู้มีส่วนสร้างความเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการมองอนาคตมีความรู้สึกผูกพันกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
  • ความเข้าใจ (comprehension) - สนับสนุนให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงระดับโลกที่เกิดกับธุรกิจหรืออาชีพของตน และให้สามารถควบคุมเหตุการณ์ดังกล่าวได้บางส่วน

ความสำเร็จหรือล้มเหลวของการมองอนาคตสามารถวัดได้จากการประเมินด้วยเกณฑ์ทั้ง 6 ข้างต้นประสบการณ์ได้แสดงให้เห็นความจำเป็นที่จะต้อง “มองอนาคต” ในหลายระดับ ตั้งแต่กลุ่มที่รับผิดชอบในการประสานนโยบายทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งหมดของชาติ สมาคมอุตสาหกรรมต่างๆ ตลอดจนบริษัทหรือองค์กรที่ทำการวิจัย ดังนั้น กิจกรรมการมองอนาคตบางอย่างอาจมีขอบ เขตในระดับมหภาค หรือมีลักษณะเป็นองค์รวม แต่บางครั้งก็เน้นในระดับจุลภาค นอกจากนี้กิจกรรมการมองอนาคตไม่ว่าระดับใดก็ตามควรรวบรวมผลลัพธ์จากการมองอนาคตในระดับสูงกว่าและ/หรือ ต่ำกว่า ที่มีผู้กระทำไว้ก่อนแล้วป้อนเข้าไปในกระบวนการด้วยและเช่นเดียวกันผลลัพธ์จากกระบวนการปัจจุบันก็จะถูกป้อนกลับไปยังความพยายาม มองอนาคต ในระดับสูงกว่าหรือต่ำกว่าต่อไป

ใกล้เคียง

การมองอนาคต การมองเห็นภาพเป็น 3 มิติ การมองในแง่ดีเชิงเปรียบเทียบ การมอบงานให้อัครสาวกสิบสองคน การอับปางของเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก การออกกำลังกาย การยอมจำนนของญี่ปุ่น การลอบสังหารชินโซ อาเบะ การสอบขุนนาง การลอบสังหารจอห์น เอฟ. เคนเนดี